สำหรับการท่องเที่ยวป่ากางเต็นท์ พลังานไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อก่อนปัญหาเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะในอุทยานบางแห่งก็ไม่มี ให้บริการ หรือมีจุดให้บริการไฟฟ้าแต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะทุกวันนี้เรานิยมใช้มือถือกันมาก และชาร์จบ่อย บางคนนั่งเฝ้าปลั๊กไฟเลยทีเดียว เมื่อ คิดจะเที่ยวป่าหลายวัน จึงต้องวางแผนในเรื่องนี้ให้ดี

 

การเที่ยวป่ากางเต็นท์มีหลายแบบ บางคนไปแค่เสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดยาว บางคนเกษียณแล้ว ไปอยู่ตามอุทยานแห่งชาติ กางเต็นท์อยู่ เป็นอาทิตย์ การวางแผนเรื่องพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้กับมือถือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมให้พร้อม

 

 

ปัจจุบันโซล่าเซลล์มีราคาถูกลงและมีตัวเลือกเยอะมาก หากคิดจะเที่ยวป่ากางเต็นท์ และไม่อยากไปแย่งปลั๊กไฟกับใคร ก็ต้องใช้โซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังานไฟฟ้าที่สะดวกแต่มีราคาสูงสำหรับการซื้อในครั้งแรก และจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ เสริมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

 

แบตเตอรี่และพาวเวอร์แบงก์

อุปกรณ์จัดเก็บพลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นลำดับแรก

1. หากใช้รถยนต์ก็สามารถซื้อแบตเตอรี่ขนาดใหญ่หรืออาจจะใช้แบตเตอรี่ลูกใหญ่ ซึ่งสามารถใช้หุงข้าวได้ แต่ก็จะสร้างปัญหาในการพกพา การเคลื่อนย้าย และการชาร์จ เพราะต้องใช้โซล่าเซลล์แผงใหญ่ แต่มั่นใจได้ว่ามีพลังงานไฟฟ้าเหลือเฟือแน่นอน ส่วนทางเลือกง่ายๆ ใช้เตาแก๊ส กระป๋องหุงข้าวดีกว่า ง่ายและสะดวกกว่ามาก เพราะคนเที่ยวป่ากางเต็นท์มักจะมีเตาแก๊สกระป๋อง มีหม้อติดตัวกันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้อง ฝึก วิธีหุงข้าวไม่เช็ดน้ำด้วยเตาแก๊สกระป๋อง ให้เป็นเท่านั้นเอง


2. แบตเตอรี่ขนาดเล็ก อย่างแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ และแผงโซล่าเซลล์ อาจจะใช้เพื่อชาร์จมือถือ หรือ ใช้ส่องสว่างในยามกลางคืน มีขนาดที่ เล็กลง พกพาง่าย แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับการขับรถมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยว ซึ่งทุกวันนี้นิยมกันมาก ทั้งรถครอบครัว รถบิ๊กไบค์ ก็ไปได้ทั้งหมด

3. พาวเวอร์แบงก์ เป็นอุปกรณ์จัดเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และจำเป็นมากที่จะต้องมีติดตัวสำหรับการท่องเที่ยวกางเต็นท์ ควรมีหลายตัวจะดีที่สุด และแต่ละตัวให้เน้นความจุสูงไว้ก่อน แยกกันใช้งานไปตามหน้าที่ เช่น ไว้จ่ายไฟฟ้าให้กับหลอดไฟ เพื่อเปิดในเวลา กลางคืน หรือไว้ชาร์จมือถือซึ่งอย่างหลังนี้สำคัญมาก เพราะกิจกรรมในเวลากลางคืน มักจะเป็นการฟังเพลง ดูวิดีโอ ท่องเน็ต ทำให้แบตเตอรี่มือ ถือหมดเร็วมาก


4. แบตเตอรี่สำรองสำหรับมือถือและที่ชาร์จแบบหนีบ การใช้มือถือที่สามาถถอดแบตเตอรี่ได้จะเป็นตัวเลือกที่ดี หากมีที่ชาร์จแบบหนีบก็จะ สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะชาร์จกับพาวเวอร์แบงก์หรือปลั๊กไฟ ก็ตามสะดวก การมีอุปกรณ์ในข้อที่ 3 และ 4 จะเป็นตัว เลือกที่ดี อุปกรณ์เหล่านี้มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถใช้มือถือได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะเสียเวลานิดหน่อยเท่านั้นกับการถอดเปลี่ยน แบตเตอรี่

 

 

โซลาเซล์สำหรับชาร์จมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

ปัจจุบันมีโซลาเซลล์แบบต่างๆ ให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย การเลือกให้เหมาะสมก็จะมีแหล่งพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ ได้ อย่างพอเพียง ตัวอย่างเช่น
1. โซล่าเซลล์ที่มาพร้อมกับ หรือติดมากับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยตรง สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้ามาเก็บไว้ได้โดยตรง อย่างอุปกรณ์สำคัญ 2 ตัวนี้ เพราะจำเป็นต้องใช้ อย่าง
- พาวเวอร์แบงก์พร้อมโซลาเซลล์ สะดวกในการใช้งาน เพียงแต่ต้องศึกษาให้ดีว่า ใช้เวลาชาร์จกี่ชั่วโมง จึงจะเต็ม บางรุ่นก็ยังมีไฟฉายในตัว ยอด เยี่ยมมากๆ แม้ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าแบบทั่วไป แต่ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าอย่างแน่นอน

 


- ไฟฉาย หรือ ตะเกียงไฟฟ้า ที่มีโซลาเซลล์


2. โซล่าเซลล์ขนาดเล็ก เน้นไว้ใช้เพื่อชาร์จอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีแบตเตอรี่ในตัว ไม่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมากนัก สายไฟจากโซลาเซลล์จะต่อกับหัว แปลงเพื่อชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบต่างๆ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์ต่างๆ มากเกินไป อย่างคนใช้ จักรยานยนต์ขับรถเที่ยวกางเต็นท์ อาจจะซื้อมากกว่าหนึ่งตัว หากมีสมาชิกหลายคน แยกกันใช้คนละแผง ไม่เช่นนั้นไม่เพียงพออย่างแน่นอน การใช้งานหลักๆ ก็เน้นไว้ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ หรือชาร์จมือถือสำรอง

 


3. ชุดโซลาเซลล์แบบครบชุด ซึ่งจะมี แผงโซล่าเซลล์ ตัวชาร์จเจอร์ และแบตเตอรี่ ราคาก็จะสูงมากขึ้น ที่สำคัญ มีขนาดใหญ่ จึงเหมาะสำหรับคน ใช้รถยนต์เพื่อการท่องเที่ยวกางเต็นท์ มีสมาชิกหลายคน ความสามารถในการชาร์จและเก็บพลังงานไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับขนาดใหญ่เล็กของแผงและ ขนาดความจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ขนาดใหญ่จะสามารถใช้กับหม้อหุงข้าวได้เลย แต่กรณีนี้ก็จะลงทุนสูงเกินไป และต้องพกพาอุปกรณ์ต่างๆ ติด รถค่อนหลายชิ้น

 

 

ระยะเวลาในการชาร์จของแผงโซลาเซลล์ที่จะต้องรู้

การเลือกซื้อแผงโซลาเซลล์ ก่อนอื่นต้องรู้วิธีคำนวณระยะเวลาในการชาร์จเบื้องต้นก่อน เช่น
1. แผงโซลาเซลล์ 20 Wp จะสามารถชาร์จได้ 1.15 A (แอมพ์) ใน 1 ชั่วโมง ดูที่ค่า IMP
2. มือถือที่ใช้แบตเตอรี่ 5,000 mAh หรือประมาณ 5 A
3. จะใช้ระยะเวลาชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม 5 A หารด้วย 1.15 A จะได้ระยะเวลาประมาณ 4.3 ชั่วโมง หรือระยะเวลาจริง ก็น่าจะประมาณ 5 ชั่วโมง และในหนึ่งวันก็น่าจะชาร์จได้เพียง 1 - 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนการชาร์จพาวเวอร์แบงก์ความจุสูงๆ อย่าง 30,000 A คงจะใช้เวลาหลายวัน ต้องใช้แผงที่มีจำนวน W มากกว่านั้น

 

สรุป

ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนในเรื่องพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ กรณีไปเที่ยวป่ากางเต็นท์ ก็แนะนำในลักษณะนี้
1. เลือกพาวเวอร์แบงก์ที่มีความจุสูงและมีโซลาเซลล์ไว้ชาร์จไฟฟ้าในตัว ไม่ยุ่งยากต้องหาที่ชาร์จพาวเวอร์แบงก์อีกที ซึ่งในอุทยานแห่งชาติบาง แห่งไม่มีไฟฟ้าให้นักท่องเที่ยวใช้บริการ เพราะรำคาญกับปัญหานักท่องเที่ยวแย่งกันใช้ไฟฟ้า และควรจะมีอย่างน้อย 2 ชุด หรือตามจำนวน สมาชิกจะดีที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่เพียงพอ
2. เลือกใช้พาวเวอร์แบงก์ที่มีไฟฉาย ซึ่งจะใช้งานได้นานหลายวัน โดยอาจจะไม่ต้องชาร์จเลย ชาร์จที่บ้านครั้งเดียวเท่านั้น ก็ใช้ได้ตลอดทริป
3. ซื้อไฟฉายหรือตะเกียงแบบมีแผงโซลาเซลล์ เพียงแต่ต้องเลือกรุ่นที่ให้ความสว่างได้นาน ไม่กินไฟมากนัก ไม่เช่นนั้นก็จะเปิดได้ไม่นาน
4. มือถือ หรือแท็บเล็ต ต้องมีหลายเครื่อง อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป สลับกันใช้ เน้นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่อึดทน ไม่เช่นนั้น ก็ต้องใช้รุ่นที่สามารถ ถอดแบตเตอรี่ออกไปชาร์จได้ ก็ซื้อแบตเตอรี่ไว้หลายก้อน สะดวกในการใช้งาน

 

ผู้เขียนจะเน้นไปที่การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับมือถือเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์ตัวนี้เราใช้กันมากจริงๆ ใช้ทั้งวัน แบตเตอรี่จึงหมดเร็วมาก และ สถานที่กางเต็นท์บางแห่งแม้จะมีจุดให้บริการไฟฟ้า แต่คนใช้งานก็เยอะมาก ปลั๊กไม่พออย่างแน่นอน ดังนั้นหากรักการท่องเที่ยวกางเต็นท์ จึง ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอ

 

ส่วนการลงทุนกับโซล่าเซลล์ชุดใหญ่ ใช้แผงขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์ครบ หากใช้รถยนต์ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะแม้จะไม่ออกเที่ยวกาง เต็นท์ แต่ก็สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ เช่น เปิดพัดลมในเวลากลางวัน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าบ้าน ใช้หุงข้าวได้ (เฉพาะในเวลากลางวัน) เป็นต้น เพียงแต่ต้องออกแบบให้ดี เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย